ประวัติโรงเรียนวัดนิกรรังสฤษฎิ์
โรงเรียนวัดนิกรรังสฤษฎิ์ ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง เป็นโรงเรียนของเอกชนโดยมีนายปาน เศวตะดุลเป็นเจ้าของและนายปลอบ เศวตะดุลเป็นผู้จัดการและนายปฤษณา เศวตะดุลเป็นครูใหญ่ได้รับอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนตามใบอนุญาตเลขที่ ๒๗/๒๔๙๒ ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ให้ชื่อว่า "โรงเรียนมัธยมย่านตาขาว" อาศัยศาลา การเปรียญของวัดเป็นอาคารเรียนรับนักเรียนได้ ๑๘ คน เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ทำการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ได้ดำเนินกิจการของโรงเรียนเรื่อยมา
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ เจ้าของผู้จัดการเดิมเห็นว่าการบริหารของโรงเรียนอยู่ในรูปของเอกชนคงดำเนินไปไม่รอดจึงได้ประชุมปรึกษาและที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์จึงได้โอนกิจการของโรงเรียนมัธยมย่านตาขาวให้เป็นโรงเรียนราษฎร์ของวัดนิกรรังสฤษฎิ์ ดำเนินการตามระเบียนของกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ของวัด พ.ศ. ๒๔๘๘ และได้รับอนุญาตให้เป็นโรงเรียนราษฎร์ของวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมวัดนิกรรังสฤษฎิ์ ซึ่งมีท่านพระครูปุสธรรมรังสฤษฎ์ เจ้าอาวาสวัดนิกรรังสฤษฎิ์เป็นเจ้าของ
เจ้าอธิการเปลื้อง ชุติพธโร ( พระครูสุตกิจวิจารณ์ ) เป็นผู้จัดการฝ่ายสงฆ์ นายอุทัย สุนทรนนท์ เป็นผู้จัดการฝ่ายฆราวาส นายจรูญ นิลสม เป็นครูใหญ่ มีคณะกรรมการบริหารงานกิจการของโรงเรียนจำนวน ๗ คน ได้ปลูกสร้างอาคารขึ้น ๑ หลังเป็นอาคารเรียนชั่วคราวจุนักเรียนได้ ๑๒๐ คน กิจการของโรงเรียนได้เจริญมาโดยลำดับ
ครั้ง พ.ศ. ๒๕๐๙ ท่านพระครูปุสธรรมรังสฤษฎ์ ได้พ้นจากตำแหน่งเจ้าอาวาสและตำแหน่งของโรงเรียนเจ้าของโรงเรียนทางเจ้าคณะจังหวัดตรัง คือ ท่านเจ้าคุณพระราชสารโสภณ วัดตันตยาภิรมย์ก็ได้ดำเนินการแต่งตั้งให้ท่านพระครูวิมลบรรณกิจเจ้าอาวาสวัดนิคมประทีป ( วัดโคกหล่อ )
อำเภอเมือตรัง มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนิกรรังสฤษฎิ์ อำเภอย่านตาขาว และเป็นเจ้าของโรงเรียนสืบต่อไปโดยมีท่านพระครูปุสธรรมรังสฤษฎ์เป็นผู้จัดการฝ่ายสงฆ์ นายเชาว์ งามล่อง เป็นผู้จัดการฝ่ายฆราวาสนายโสภณ บุญญาธิการโสภณ เป็นครูใหญ่
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่านพระครูวิมลบรรณกิจเจ้าของได้ปรึกษากับคณะกรรมการโรงเรียนเพื่อที่จะปลูกสร้างอาคารเรียนใหม่ ในที่สุดทางคณะกรรมการโดยท่านพระครูวิมลบรรณกิจเป็นประธานได้ดำเนินการปลูกสร้างอาคารเรียนขึ้นมาใหม่ ๑ หลังเป็นอาคารเรียนคอนกรีตถาวร ๒ ชั้น ๑๔ ห้องเรียน ใช้เงินค่าก่อสร้าง ๔๕๐,๐๐๐ บาท( สี่แสนห้าหมื่นบาท ) และในพ.ศ. ๒๕๑๒ ปีเดียวกันนั้น ทางกระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติเงินปลูกสร้างวิทยาคารสงเคราะห์ให้โรงเรียนเป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท ( สี่แสนบาท ) สร้างอาคารขึ้นอีก ๑ หลัง เป็นอาคาร ๒ ชั้น ๘ ห้องเรียน ตามแบบ ๐๐๔ ของกรมสามัญศึกษา
พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้แต่งตั้งนายบรรยง สรวมสวัสดิ์เป็นครูใหญ่ พระเริ่ม บุญจิตร เป็นผู้จัดการฝ่ายสงฆ์ นายเชาว์ งามล่อง เป็นผู้จัดการฝ่ายฆราวาส ดำเนินกิจการของโรงเรียนมาจนถึง พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับอนุญาตให้ขยายชั้นเรียนจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
พ.ศ. ๒๕๒๕ พระเริ่ม บุญจิตร ได้ลาออกจากผู้จัดการฝ่ายสงฆ์และในปีนี้โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดสอนในระดับอนุบาลและได้ดำเนินกิจการเรื่อยมาจนถึง ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๒ โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนมัธยมวัดนิกรรังสฤษฎิ์ เป็น โรงเรียนวัดนิกรรังสฤษฎ์ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ นายเชาว์ งามล่อง ได้พ้นจากตำแหน่งผู้จัดการทางโรงเรียนได้แต่งตั้งให้นายชม นิลละออ เป็นผู้จัดการแทน และในปีพ.ศ. ๒๕๓๔ โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนใบอนุญาตโรงเรียนจากการอนุญาตให้เจ้าอาวาสเป็นผู้รับใบอนุญาตมาเป็นการอนุญาตให้วัดเป็นผู้รับใบอนุญาตโดยมีท่านอาจารย์พระครูวิมลบรรณกิจเป็นผู้ลงนามแทนวัด
พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการคือนายชม นิลละออ และได้ดำเนินการแต่งตั้งให้นายจวน ศิริพันธ์ เป็นผู้จัดการแทน
พ.ศ. ๒๕๓๕ นายบรรยง สรวมสวัสดิ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งครูใหญ่และได้ดำเนินการแต่งตั้งให้นายจวน ศิริพันธ์เป็นครูใหญ่ ต่อมาโรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดเรียนในระดับประถมศึกษาโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นมารวมแล้วโรงเรียนได้เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และรับนักเรียนได ๙๐๐ คน ใช้อาคารเรียนทั้ง ๒ หลัง ดำเนินการโดยพระครูวิมลบรรณกิจ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตคือ นายจวน ศิริพันธ์ ผู้จัดการและครูใหญ่ได้พยายามปรับปรุงการเรียนการสอนและกิจกรรมด้านอื่น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้จัดการได้ดำเนินการของงบจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนเป็นเงิน ๑,๖๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อจะสร้างอาคารเรียนเพิ่มเนื่องจากมีนักเรียนเพิ่มจำนวนมากและได้ขอต่อเติมชั้นล่างอีกด้วย การก่อสร้างนี้ได้ก่อสร้างตามแบบสปช. ๑๐๕/๒๙ ได้ขยายความจุจากเดิม ๙๐๐ คน มาเป็น ๑,๓๐๘ คน พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้เพิ่มอาคารเรียนอีกจำนวน ๒ หลัง การก่อสร้างใช้เงินอุดหนุนการศึกษาในส่วนที่พัฒนาอาคารสถานที่และได้รับอนุญาตให้ใช้และขยายความจุจากเดิม ๑,๓๐๘ คน เป็น ๑,๕๑๒ คน และดำเนินการต่อเติมอาคารเรียนหลังใหม่ชั้นล่างของอาคารเรียนหลังที่ ๔ และ ๕ ขยายความจุจากเดิม ๑,๗๑๖ คน เป็น ๒,๑๒๔ คน
พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ของบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนอีกตามแบบ ๒๑๖ ล. เป็นอาคาร ค.ส.ล. ขนาด ๑๔ x ๘๐ เมตร อาคาร ๓ ชั้น ๑๖ ห้องเรียน เป็นเงิน ๙๔๖,๐๐๐ บาท
การจัดชั้นเรียนได้ปฏิบัติตามกฎและระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการทุกประการ ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบของโรงเรียนเอกชนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาทุกประการ
พ.ศ. ๒๕๔๔ นางทัศนีย์ สุนทรนนท์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ โรงเรียนได้มีการพัฒนาเรื่อยมาตามลำดับ ในระหว่างนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งจากครูใหญ่มาเป็นผู้อำนวยการโดยมี นางศรีนวล มัธยันต์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการและเมื่อลาออก นายสญชัย เศรษฐาภรณ์ มาดำรงตำแหน่งแทน
พ.ศ.๒๕๕๔ พระมหาสุวรรณ วิชฺชาธโรได้ดำรงตำแหน่งทำการแทนผู้รับอนุญาต และนายโกศิศ แก่นอิน ดำรงตำแหน่งผู้จัดการและผู้อำนวยการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ พระธวัชชัย วิชชาธโร ได้มาดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียนวัดนิกรรังสฤษฎ์ โดยการแต่งตั้งของผู้รับใบอนุญาต พระครูนิกรมจันทโชต วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยมีนายโกศิศ แก่นอิน ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
พ.ศ.๒๕๖๒ นายโกศิศ แก่นอิน ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวย และได้มีนายอำนวยพร เชยชื่นจิตร มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ และมีนายสุพจ จริงจิตร ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ และนายสุวัตร ทองหอม ดำรงตำแหน่งรองผู้จัดการ
พ.ศ.๒๕๖๔ พระครูนิกรมจันทโชติ ผู้รับใบอนุญาตได้ถึงแก่มรณภาพและได้มีการแต่งตั้งพระครูนิกรธรรมทร เจ้าอาวาสวัดนิกรรังสฤษฎ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตจนถึงปัจจุบัน
โรงเรียนและวัดนิกรรังสฤษฎ์ มีเนื้อที่ ๑๕ ไร่ ๑/๑๐ ตารางวา
จริยธรรม นำวิชา แก้ปัญหาถูก
ตรงเวลา สามัคคี รู้หน้าที่ มีวินัย
ทันโลกทันเทคโนโลยี เป็นพลเมืองดีใต้ร่มศาสนา
ตราโรงเรียน
ตราโรงเรียน ดอกบัว ๓ ดอก อยู่ในวงกลมมีชื่อโรงเรียนอยู่รอบนอกวงกลม
ความหมาย
๑. ดอกบัวอยู่ในวงกลม หมายถึง การจัดการเรียนการสอนอยู่ในกรอบระเบียบที่กำหนด
๒. ดอกบัว ๓ ดอก เปรียบกับพระคุณ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วย
๒.๑ พระบริสุทธิคุณ คือ การจัดการเรียนการสอนที่เปี่ยมด้วยจิตใจบริสุทธิ์ ถ่านทอดความรู้โดยไม่ปิดบังอำพราง
๒.๒ พระมหากรุณาธิคุณ คือ ความกรุณาต่อผู้เรียนช่วยให้ได้รับความรู้ ช่วยเหลือตนเองได้และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
๒.๓ พระปัญยาธิคุณ คือ ความรู้ที่ให้เกิดเป็นแสงสว่างแห่งปัญญาใช้ปัญญาทำประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้
สารบรรณ ผู้บริหาร ครู นักเรียน
กองทุนเพื่อการศึกษาโรงเรียนวัดนิกรรังสฤษฏ์